วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556



โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง บุหรี่
โดย
ด.ช.ฐานวุฒิ สุขสอาด ม.3/12 เลขที่14
ด.ช.จิรพงศ์ รัตนภักดี ม.3/12 เลขที่12
ด.ช.ภูมิ เทพวนินกร ม.3/12 เลชที่18
ด.ช.ศิลป์ศรุต เลิศวิริยะวณิชย์ ม.3/12 เลขที่19
ด.ช.กฤตวุฒิ บุญเรืองศรี ม.3/12 เลขที่20
ด.ช.ธรรมสถิตย์ ทองปอน ม.3/12 เลขที่23
โรงเรียน นวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2
นำเสนอ
อ.ชัยวัฒน์ บุญถูก
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้ารายวิชา ง 23102
ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556





คำนำ

โครงงานชิ้นนี้ผู้จัดทำได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาต่อผู้ที่มีความสนใจในเรื่องบุหรี่

ตลอดจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับโทษของบุหรี่และที่มาของบุหรี่


บุหรี่
บุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 120 มิลลิเมตร และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 10 มิลลิเมตร มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุภายในห่อกระดาษ ปลายด้านหนึ่งเป็นปลายเปิดสำหรับจุดไฟ และอีกด้านหนึ่งจะมีตัวกรอง ไว้สำหรับใช้ปากสูดควัน คำนี้ปกติจะใช้หมายถึงเฉพาะที่บรรจุใบยาสูบภายใน แต่ในบางครั้งก็อาจใช้หมายถึงมวนกระดาษที่บรรจุสมุนไพรอื่น ๆ เช่น กัญชา
บุหรี่ ต่างจาก ซิการ์ ตรงที่บุหรี่นั้นมีขนาดเล็กว่า และใบยาสูบนั้นจะมีการบดหรือซอย รวมทั้งกระดาษที่ห่อ ซิการ์โดยปกติจะใช้ใบยาสูบทั้งใบ ซิการ์ชนิดที่มีขนาดเล็กพิเศษเท่าบุหรี่ เรียกว่า ซิการ์ริลโล บุหรี่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาอังกฤษตั้งแต่ก่อนสงครามแห่งครายเมีย เมื่อทหารแห่งจักรวรรดิอังกฤษ เริ่มเลียนแบบการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อใบยาสูบ จากทหารตุรกีแห่งอาณาจักรออตโตมัน  



                                       







สารเคมีในบุหรี่
ไส้บุหรี่นั้น ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี และมีการเพิ่มสารอื่น ๆ ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 4,000 ชนิด ซึ่งในจำนวนนั้นมีสารเคมีจำนวนมากที่เป็นสารพิษ และสารก่อมะเร็ง สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบได้แก่

        อะซีโตน
        แอมโมเนีย
        สารหนู
        เบนซีน
        บิวเทน
         ทองแดง
          ตะกั่ว
          มีเทน
         ปรอท
         นิโคตีน
          พอโลเนียม
          ทาร์

             

ผลต่อสุขภาพ

การสูบบุหรี่และยาสูบอื่น ๆ เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ การสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด (ประมาณ 80-90% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่) นอกจากนั้นยังเป็นสาเหตุของโรคปอดอื่น ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่น ๆ อีกด้วย ผู้สูบบุหรี่อาจดูแก่กว่าปกติเนื่องจากควันบุหรี่จะเพิ่มรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนัง เนื่องจากการสูบบุหรี่มีผลเพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม ดังนั้นอาจส่งผลให้ผู้สูบมีน้ำหนักลดลง
นิโคติน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาท ในบุหรี่นั้น มีผลเป็นสารเสพติด และลดการอยากอาหาร ผู้ที่เลิกการสูบบุหรี่มักจะทดแทนอาการอยากบุหรี่ด้วยการกินขนม ซึ่งส่งผลให้หนึ่งในสามของผู้ที่เลิกสูบบุหรี่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นนิโคตินยังอาจเป็นสารพิษ หากเด็กหรือสัตว์รับประทานก้นบุหรี่โดยอุบัติเหตุ
โอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบควันนั้นไม่แน่นอน ขึ้นกับลักษณะของการสูบ สารที่สูบ และความถี่ จากสถิติพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสจะเป็นโรคมะเร็งปอดประมาณ 11-17% หรือ 10-20 เท่าของคนที่ไม่สูบ การสูดสารพิษและสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ เช่น เรดอนและเรเดียม-226 เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็ง ไร่ยาสูบในสหรัฐอเมริกาจำนวนมากปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี เนื่องจากการใช้ปุ๋ยที่มีปริมาณฟอสเฟตสูง
พิษจากควันบุหรี่

                                                                         
1 . นิโคติน เป็นสารระเหยในควันบุหรี่ และเป็นสารที่รุนแรงมากที่สุดอย่างหนึ่ง ละลายน้ำได้ดี ไม่มีสี ถ้าสูบบุหรี่ 1 มวน ร่างกายจะได้รับนิโคตินในควันบุหรี่ 0.2 - 2 มิลลิกรัม หากมีอยู่ในร่างกายถึง 70 มิลลิกรัม จะทำให้ถึงแก่ความตายได้ มีผู้ทดลองนำนิโคตินบริสุทธิ์ เพียง 1 หยด ป้ายลงบนผิวหนังกระต่าย มีผลทำให้กระต่ายตัวนั้นช็อกอย่างรุนแรงและถึงแก่ความตาย แม้จะไม่ได้เข้าสู่ภายในร่างกายทางปากหรือทางลมหายใจ
       นิโคติน จะทำให้ไขมันในเส้นเลือดเพิ่มขึ้น เส้นเลือดหัวใจตีบและเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหล่อเลี้ยง ทำให้ความดันสูง หัวใจเต้นเร็วทำลายเนื้อปอดและถุงลมปอดอีกด้วย

2 . ทาร์ เป็นคราบมันข้นเหนียว สีน้ำตาลแก่ เกิดจากการเผาไหม้ของกระดาษและใบยาสูบ จะทำลายถุงลมปอดทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง หอบเหนื่อยง่าย ไอเรื้อรัง และอาจทำให้เกิดโรคมะเร็งบริเวณเนื้อเยื่อที่สัมผัสกับสารนี้ ขณะสูบบุหรี่ ทาร์จะตกค้างอยู่ในปอด หลอดลมใหญ่ และหลอดลมเล็ก ประมาณร้อยละ 90 จะขับออกมาพร้อมลมหายใจเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ดังนั้น ทาร์ จึงเป็นตัวการทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ซึ่งเป็นโรคที่ทรมานมากก่อนเสียชีวิต ในบุหรี่ 1 มวน มีทาร์ในปริมาณต่างกันตั้งแต่ 2.0 มิลลิกรัม จนถึง 3.0 มิลลิกรัม แล้วแต่ชนิดของบุหรี่

3. คาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับออกซิเจนได้เท่ากับเวลาปกติ เกิดการขาดออกซิเจนทำให้มึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่ายซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ

พิษจากควันบุหรี่
 ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ก๊าซพิษ ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้ไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำโดยเฉพาะตอน เช้า
 ไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซพิษทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลม ทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพอง ถุงลมเล็กๆ หลายอันแตก รวมกันเป็นถุงลมใหญ่ ทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพอง
 แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตา แสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอมีเสมหะมาก
 สารกัมมันตรังสี ควันบุหรี่มีสารโพโลเนียม 210 ที่มีรังสีอัลฟาอยู่ เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอด





โทษของการสูบบุหรี่
1. เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
2. ฟันเหลือง ตาแดง เล็บเขียว
3. มีกลิ่นตัวและกลิ่นปากรุนแรง
4. เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม
5. เสียเงินจำนวนมากโดยใช่เหตุ
6. ส่งผลร้ายต่อคนรอบข้าง
7. เป็นมะเร็งช่องปาก รวมถึงฟันและลิ้น (ปากเน่าเละเฟะ)
8. เป็นมะเร็งหลอดลมและหลอดอาหาร
9. เป็นมะเร็งกล่องเสียง
10. เป็นมะเร็งปอด (มะเร็ง ที่ทรมานมากที่สุด) มีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 20 เท่า
11. ถุงลมโป่งพองจนไม่สามารถหดตัวกลับได้ มีผลทำให้หายใจติดขัด หอบ จนถึงตายได้
12. โรคกระเพาะอาหารเป็นแผล
13. โรงตับแข็ง เช่นเดียวกับการดื่มสุรา
14. โรคปริทนต์ (ฟันเน่าเละ)
15. โรคโพรงกระดูกอักเสบ
16. โรคความดันโลหิตสูง
17. ประสาทในการรับรสแย่ลง
18. มีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะมาก บางครั้งไอถี่มากจนไม่สามารถหลับนอนได้


ระยะเวลาในการดำเนินการ
รายงานเรื่องบุหรี่ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าตั้งแต่วันที่9 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 ถึงวันที่23 เดือนสิงหาคม พ.ศ.2556 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 14 วัน

 แนวคิด ที่มาและความสำคัญ
  แนวคิด
ผู้จัดทำเลือกทำโครงงานเรื่องบุหรี่เพราะได้แนวคิดมาจากการเห็นผู้คนส่วนใหญ่ใน
ประเทศไทยติดบุหรี่และเป็นโรคจากบุหรี่บ่อยมาก
ที่มาและความสำคัญ

บุหรี่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดโรคร้ายหลายๆชนิดและมีโทษต่อผู้ที่สูบเองและผู้คนรอบกายของผู้ที่สูบอีกด้วยจึงทำให้บุหรี่มีโทษอย่างมาก


วัตถุประสงค์
รายงานเรื่อง บุหรี่ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาค้นคว้า ดังนี้
1.เพื่อให้ทราบว่าบุหรี่คืออะไร
2.เพื่อให้ทราบว่าที่มาของบุหรี่คือไร
3.เพื่อให้ทราบโทษของบุหรี่
4.เพื่อให้ทราบพิษที่อยู่ในบุหรี่
5.เพื่อให้ทราบโทษของการสูบบุหรี่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้อ่านทราบว่าบุหรี่คืออะไร
2.ผู้อ่านทราบว่าที่มาของบุหรี่คือไร
3.ผู้อ่านทราบโทษของบุหรี่
4.ผู้อ่านทราบพิษที่อยู่ในบุหรี่
5.ผู้อ่านทราบโทษของการสูบบุหรี่

อ้างอิง